วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง

พุทธศาสนา กับ เศรษฐกิจพอเพียง

                  คำว่า “เศรษฐกิจ” มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า เศรษฐ แปลว่า ดีเลิศ และว่า กิจ แปลว่า การประกอบการ เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้ความว่า การประกอบกิจการงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย จ่าย แจก การบริโภค และการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ผลดีเลิศ 
            ส่วนคำว่า "พอเพียง" หมายถึง ความเหมาะสม หรือ ความพอดี เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด และเมื่อรวมกันจึงได้ความว่า การผลิตจำหน่าย และบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี นั่นเอง ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริ ขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจให้กับสังคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ “การที่พึ่งตนเองได้”

วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียง
1.ทำให้เกิดความสงบสุขของผู้คนในสังคม 
2.ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ 
3.ไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน 
4.ทำให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง 
5.ทำให้มีการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย

 

แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้
ให้เป็นแนวทางในการประสานกลมกลืนกับวิธีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างชาญฉลาด และเป็นรูปธรรม หลักจริยธรรมดังกล่าวคือ หลักการเดินสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ในระดับโลกิยธรรม

            การเดินทางสายกลาง คือธรรมที่เหมาะแก่ชาวบ้านทั่วไปได้แก่ ความเป็นรู้จักพอในการบริโภคใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ชีวิตแบบไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเน้นการลด ละ เลิก อบายมุข ด้วยการประพฤติตามหลักเบญจศีล และ เบญจธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นวิถีพุทธ

แนวทางการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 


ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีดังนี้

๑. ประหยัด  ลดละความฟุ่มเฟือย  ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้านที่ไม่จำเป็น  
๒. ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต   
๓.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายกันอย่างรุนแรงดังอดีต 
๔.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้จนถึง       ขั้นพอเพียง  
๕.ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป   

หลักธรรมในเศรษฐกิจพอเพียง

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์หลักธรรมต่างๆในพระพุทธศาสนามาใช้กับระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ดังนี้

๑.หลักมัชฌิมาปฏิปทา (การปฏิบัติตนในทางสายกลาง)


        มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง ๒ ได้แก่ 
๑.อัตตกิลมถานุโยค   คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป 
๒.กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย 
        เป็นหลักคำสอนที่ปรากฏในพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
        นอกจากคุณค่าขั้นสูงสุดของหลักมัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์แล้ว คุณค่าในเบื้องต้น ยังเป็นไปเพื่อการรู้จักการดำเนินชีวิตให้เกิดความพอดี เป็นแนวทางของการแก้ทุกข์ที่เรียกว่า           “อริยมรรคมีองค์ ๘” โดยมุ่งเน้นให้มีความสุขกายและสุขใจไปด้วย ดังนี้
๑.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
๒.สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
๓.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
๔.สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
๕.สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
๖.สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
๗.สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
๘.สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

๒.อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)

    หลักอตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เป็นคำสอนให้บุคคลพึ่งตนเอง ซึ่งแนวทางของระบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้มุ่งเน้นให้พึ่งตนเองในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ในการสร้างฐานะ และการเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็น นอกจากเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้วจะต้องเป็นที่พึ่งของบุคคลอื่นด้วย              นอกจากในระดับบุคคลแล้ว ยังมุ่งเน้นให้การพัฒนาประเทศชาติให้พึ่งตนเองในลักษณะ“เศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือการพัฒนาที่ไม่อิงเศรษฐกิจโลกจนเกินไป

๓.หลักสันโดษ

       หลักสันโดษนี้มุ่งให้บุคคลพึงพอใจในสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนเองได้มาและใช้ จ่ายในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ให้บุคคลรู้จักประมาณ ได้แก่ การประหยัดและรู้จักออม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อมีความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบง่าย และโปร่งใส ไม่ทะเยอทะยานต่อสู้และเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
        ในคัมภีร์ มังคลทีปนี ได้ให้ความหมายของคำว่า สันโดษ ไว้ ๓ นัยคือ ยินดีสิ่งที่เป็นของตน, ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ และ ยินดีด้วยใจที่เสมอ (ด้วยใจที่มั่นคง)
๔.หลักสัปปุริสธรรม 
         หลักสัปปุริสธรรม ๗ คือ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ หรือคุณสมบัติของคนดี นั่นเอง ประกอบด้วย
๑.     ธัมมัญญุตา – ความรู้จักเหตุ คือรู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล
๒.     อัตถัญญุตา – ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์
๓.     อัตตัญญุตา – ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
๔.     มัตตัญญุตา – ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ เป็นต้น
๕.     กาลัญญุตา – ความรู้จักกาล คือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา เป็นต้น
๖.     ปริสัญญุตา – ความรู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
๗.     ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา – ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดี เป็นต้น

๕.ทิฏฐธัมมิกัตถะ

              เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ทำให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้มีทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตนเองได้ เรียกว่าธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน บางทีเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” โดยมีคำย่อคือ “อุ““อา““กะ““สะ“ ดังนี้คือ
๑.     อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาหาวิธีการที่แยบคายในการทำงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ทำการงานประกอบอาชีพให้ได้ผลดี
๒.     อารักขสัมปทา (อา) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยการรักษา สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ ไม่ให้สูญหายพินาศไปด้วยภัยต่างๆ
๓.     กัลยาณมิตตตา (กะ) หมายถึง การรู้จักคบคนดีหรือมีกัลยาณมิตร ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้เจริญก้าวหน้าในวงการอาชีพนั้นๆ ทำให้รู้เห็นช่องทางและโอกาสต่างๆ ในการงาน ทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนรู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ของตนอย่างถูกต้อง ไม่ถูกมิตรชั่วชักจูงไปในทางอบายมุข ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินไม่เพิ่มพูนหรือมีแต่จะหดหายไป
๔.     สมชีวิตา (สะ) หมายถึง ความเป็นอยู่พอดี หรือความเป็นอยู่สมดุล คือเลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ให้ฟุ่มเฟือย ไม่ให้ฝืดเคือง ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีเหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
๖.โภคาวิภาค ๔
        เป็นวิธีการจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยจัดสรรทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้คือ
๑.     แบ่ง  ส่วน เพื่อใช้บริโภคเลี้ยงตนเองให้เป็นสุข เลี้ยงดูครอบครัว และคนที่อยู่ในความรับผิด              ชอบให้เป็นสุข และใช้ทำความดี บำเพ็ญประโยชน์แต่สาธารณะ เป็นต้น
๒.     แบ่ง ๒ ส่วน เพื่อจัดสรรไว้สำหรับลงทุนประกอบกิจการงานต่างๆ
๓.     แบ่ง  ส่วน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

๗.โภคอาทิยะ ๕

        คือ เมื่อมีทรัพย์สิน ควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย
๑.     ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข
๒.     ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
๓.     ใช้ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
๔.     ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์  อย่าง ได้แก่ อติถิพลี (ใช้ต้อนรับแขก), ญาติพลี (ใช้                สงเคราะห์ญาติ), ราชพลี (ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร), เทวตาพลี (บำรุงเทวดา), ปุพพ           เปตพลี (ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการี)
๕.     ใช้เพื่อบำรุงสมณพราหมณ์

.กามโภคีสุข ๔ (สุขของคฤหัสถ์ ๔)

        คือ คนครองเรือนควรจะมีความสุข ๔ ประการ ซึ่งคนครองเรือนควรจะพยายามให้เข้าถึงให้ได้ คือ
๑.     อัตถิสุข - สุขเกิดจากการมีทรัพย์ เป็นหลักประกันของชีวิต โดยเฉพาะความอุ่นใจ ปลาบปลื้มภูมิใจว่าเรามีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกำลังของตนเอง
๒.     โภคสุข -สุขเกิดจากการบริโภคทรัพย์ หรือใช้จ่ายทรัพย์ คือ รู้จักใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน เลี้ยงดูบุคคลอื่น และทำประโยชน์สุขต่อผู้อื่นและสังคม เป็นต้น
๓.     อนณสุข – สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ไม่ต้องทุกข์ใจ เป็นกังวลใจเพราะมีหนี้สินติดค้างใคร
๔.     อนวัชชสุข -สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สุจริต ที่ใครจะว่ากล่าวติเตียนไม่ได้ มีความบริสุทธิ์ และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตของตน

ความสอดคล้องของหลักเศรษฐกิจพอเพียง 

กับหลักธรรมในพุทธศาสนา


๑.     เน้นความเป็นเศรษฐกิจแบบองค์รวม กล่าวคือ เป็นระบบการพัฒนาชีวิตของปัจเจกบุคลควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีจริยธรรมคือความเมตตา ความเกื้อกูลสงเคราะห์ ความสามัคคี ความไม่เห็นแก่ตัว ดังหลักของระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวไว้ว่า มนุษย์อยู่ดี ชุมชนอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน
๒.     เป็นระบบเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาที่มีสัมมาอาชีวะเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสามารถโยงไปสู่การที่พระพุทธศาสนามีท่าทีปฏิเสธความสุดโต่ง ๒ ด้าน คือ การหมกมุ่นในกามสุขอย่างเดียว และ การทรมานตนเองในรูปแบบต่างๆ
๓.     เป็นระบบเศรษฐกิจที่มุ่งพัฒนาทั้งคนและทั้งกระบวนการทางเศรษฐกิจ   ซึ่งถ้าคนไทยปฏิบัติตามระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงก็จะส่งผลให้เกิดภาวะ “เศรษฐกิจก็งอกงาม ธรรมก็งอกเงย คนก็มีความสุข”
๔.     เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ไม่มุ่งทำลายทรัพยากรธรรมชาติจนกลายเป็นการทำร้ายธรรมชาติ
๕.     เป็นระบบเศรษฐกิจที่ฝึกให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงศักยภาพในด้านการสามารถพึ่งตนเองได้ของมนุษย์
เอกสารอ้างอิง http://www.buddhabucha.net/buddhism-and-economy/





วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของการให้ทาน

                                 การให้ทาน  

๏ ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
          ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
                     หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ชนะมาร
                        อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน.
           

               การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่
๑.อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
๒.ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน
๓.อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน

               การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการอันได้แก่

๑.วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล
๒.เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์

               การให้ทานที่ถือว่าไม่ดี และยังอาจเป็นบาปกรรมถึงเราทางอ้อมอีกด้วยได้แก่
๑.ให้สุรา ยาเสพย์ติด เป็นต้น (ถ้าเขาเมาแล้วขับรถชนตาย เราก็มีส่วนบาปด้วย)
๒.ให้อาวุธ (ถ้าอาวุธนั้นถูกเอาไปใช้ประหัตประหาร บาปก็มาถึงเราด้วย)
๓.ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ
๔.ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์ อันนี้รวมถึงการจัดหาสาวๆ ไปบำเรอผู้มีอำนาจหรือผู้น้อยด้วยเป็นต้น
๕.ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด เกิดกามกำเริบ (เมื่อดูแล้วเกิดไปฉุดคร่า ข่มขืนใคร บาปก็ตกทอดมาถึงเราด้วย)

 ทานมีอานิสงส์  ตามคุณสมบัติผู้ให้
 ๑. ผู้ให้ทานด้วยศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว  มีจิตใจผ่องใส  ทั้งก่อนให้  ขณะให้และหลังจากให้แล้ว       ผลแห่งทานย่อมทำให้เขาเป็นผู้มีรูปงาม  ผิวพรรณงาม  น่ามองน่าเลื่อมใส
๒. ผู้ให้ทานด้วยความเคารพ  
ผลแห่งทานย่อมทำให้เขามีภรรยา  สามี  บุตร  และบุคคลใกล้ชิดเป็นคนดี  รู้จักเชื่อฟัง
๓. ผู้ให้ทานตามกาล  
ผลแห่งทานย่อมทำให้เขาสำเร็จสมปรารถนาทันเวลาที่ต้องการ
๔.ผู้ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ 
ผลแห่งทานย่อมทำให้เขาได้รับความอนุเคราะห์จากคนทั้งหลาย  ถึงคราวลำบากย่อมมีคนคอยช่วยเหลือเสมอ

การให้ทานมีประโยชน์อย่างไร?

       การให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ จะผลแห่งทานย่อมทำให้เขาได้รับความอนุเคราะห์จากคนทั้งหลาย     ถึงคราวลำบากย่อมมีคนคอยช่วยเหลือเสมอ  ดิฉันจะยกตัวอย่างเรื่องราวของนายแพทย์เดชา ทองวิจิตร เด็กขี้ขโมย ในโฆษาของทรูมูฟ เฮช นื้อหาของเรื่องราวนี้ เป็นเรื่องของเด็กผู้ชายขโมยยามาจากร้านขายยาเพื่อให้แม่ที่ป่วย แต่ถูกเจ้าของจับได้ อาเฮียเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวเห็นเหตุการณ์ เข้าไปช่วยเหลือ ออกค่ายาแทนให้ และให้เกาเหลาอีก 1 ถุง   ผ่านมา 30 ปี อาเฮียเจ้าของร้านถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดสมองกะทันหัน หมวยลูกสาวคนเดียวเครียดเรื่องค่ารักษาพยาบาลจนต้องประกาศเซ้งร้าน แต่แล้วในใบแจ้งค่าใช้จ่ายจากหมอที่ดูแล เขียนข้อความว่า “ค่าใช้จ่าย 0 บาท เนื่องจากหมอได้รับไว้เมื่อ 30 ปีก่อน…”



เอกสารอ้างอิง http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem15.php

วิธีใช้หนี้พ่อแม่และหน้าที่ของเด็ก


วิธีใช้หนี้พ่อแม่และหน้าที่ของเด็ก
โดย ... พระธรรมสิงหบุราจารย์  (หลวงพ่อจรัญ  ฐิตธม.โม)

ดิฉันจะขอนำเสนอข้อคิดดีๆ หรือหลักธรรมที่เข้าใจง่ายของหลวงพ่อจรัญได้เทศน์ไว้  ดังนี้

Ø วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลย   จงสร้างความดีให้กับตัวเอง  และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง  ตัวเราพ่อให้หัวใจ  แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว  จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน  จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน  บางคนรังเกียจแม่ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม  พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ  จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก ฯ

Ø พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก  ไม่ต้องไปตามพระอรหันต์ที่ไหนหรอก  เหลียวดูพ่อแม่ในบ้าน  แล้วท่านจะรู้สึกว่า  ได้ทำดีตั้งแต่วันนี้แล้วฯ

Ø อย่ายืนพูดกับพ่อแม่  อย่าบังอาจกับพ่อแม่  พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก  พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก  ก่อนออกจากบ้านจึงต้องกราบพ่อแม่ ๓ หน  ที่เท้า ฯ

Ø ท่านโปรดจำไว้   วันเกิดของลูกคือวันตายของแม่  เพราะวันที่ลูกเกิดนั้น  แม่อาจต้องเสียชีวิตการออกศึกสงครามเป็นการเสี่ยงชีวิตสำหรับคนเป็นพ่อฉันใด  การคลอดลูกก็เป็นการเสี่ยงตายสำหรับคนเป็นแม่ฉันนั้น ฯ

Ø ถ้าวันเกิดเลี้ยงเหล้า  จดไว้ได้เลยจะอายุสั้น  จะบั่นทอนอายุให้สั้นลง  น่าจะสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรมให้พ่อแม่  วันเกิดของเราคือวันตายของแม่เรา  ไปกราบพ่อกราบแม่  ขอพรพ่อแม่  รับรองพ่อแม่ให้พรลูกรวยทุกคน  ไปเลี้ยงพ่อแม่ให้อิ่มค่อยไปเลี้ยงเพื่อน ฯ

Ø สอนเด็กว่าวันเกิดของเรา  อย่าพาเพื่อนมาให้พ่อแม่ทำครัวให้นะ  เธอจะบาป  ทำมาหากินไม่ขึ้น  เธอต้องเลี้ยงพ่อแม่ให้อิ่มก่อน  แล้วจึงไปเลี้ยงเพื่อนทีหลัง ฯ

Ø ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว  ขอให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน  และถ้าจะทำบุญด้วยการเจริญกรรมฐานแล้วอุทิศส่วนกุศลไป  การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งผู้ให้แล้ผู้รับ ฯ

Ø ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่  ก็ให้กลับไปหาแม่ไปกราบเท้าขอพรจากท่าน  จะได้มั่งมีศรีสุขส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่านก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม  ล้างเท้าให้ท่านด้วย  เป็นการขอขมาลาโทษ ฯ

Ø ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกหลาน  อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่เลย  ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก  แค่คิดว่าพ่อแม่เราไมดีก็ทำมาหากินไม่ขึ้น  เจ๊ง  ท่านต้องแก้ปัญหาก่อน  คือถอนคำพูด  ไปขอสมาลาโทษเสียแล้วมาเจริญกรรมฐาน  รับรองสำเร็จแน่  มรรคผลเกิดแน่ ฯ

Ø บางคนลืมพ่อลืมแม่  อย่าลืมนะ  การเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดีขอบิณฑบาต  ลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลัง  ดำน้ำไม่โผล่ ฯ

Ø คนที่มีบุญวาสนา  จะกตัญญูกับพ่อแม่  คนเถียงพ่อเถียงแม่เอาดีไม่ได้....คนไม่พูดกับพ่อแม่  นั่งกรรมฐานร้อยปีก็ไมได้อะไร  ถ้าไม่ขออโหสิกรรม ฯ

Ø ขออโหสิกรรมที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่  คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์  คิดไม่ดีกับพี่ๆ น้องๆ  จะไม่เอาอีกแล้ว  เอาน้ำไปขันหนึ่ง  เอาดอกมะลิโรย  กายกัมมัง  วจีกัมมัง  มโนกัมมัง  โยโทโส อันว่าโทษทัณฑ์ใด  ความผิดอันใดที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไปด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ขอให้คุณพ่อคุณแม่  คุณปู่คุณย่า  คุณตาคุณยาย  คุณพี่คุณน้อง  อโหสิกรรมให้ด้วย  แล้วเอาน้ำรดมือรดเท้า ฯ

Ø หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่  เหลือจะนับประมาณนั้น  คือหนี้บุญคุณของบิดามารดา ฯ

Ø อย่าเถียงพ่อแม่  ไม่เถียงครูบาอาจารย์   ไม่เถียงผู้ใหญ่  ต้องดุษณีภาพ  นิ่งไว้ด้วยความเคารพถึงท่านจะผิดถูกประการใด   ท่านเป็นรัตตัญญู  รู้กาลเวลากว่าเรา  บอกว่าเราเป็นเด็กเกิดมาภายหลัง  เราว่าท่านพูดไม่ถูกสำหรับเรา  แต่ถูกสำหรับท่านนะ  พ่อแม่เกิดมาก่อน  อย่าเถียงนะ  เป็นบาปฯ 

Ø คุณหนู  หมั่นจด  หมั่นจำ   หมั่นจำ  หมั่นจด   สิ่งใดงาม  อย่าได้งด  คุณหนูหมั่นจด หมั่นจำทำให้จริง  เรียนให้รู้  ดูให้จำ  ทำให้จริงฯ
สามรู้ สามดี
(๑)  รู้ไว้ใช่ว่า  ใส่บ่าแบกหาม
(๒) รู้อะไร  ไม่สู้รู้วิชา
(๓) รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
ดี     ที่เป็นปรารถนาของทุกคน
ดี     ที่เป็นที่สนใจของทุกคน
ดี     ที่ละชั่วได้
(ท่านมาสร้างบุญ  ต้องละบาป   มาสร้างความดี  ต้องละความชั่ว  จึงจะเป็นที่ปรารถนาของทุกคน  เป็นที่สนใจของทุกคน  เรียกว่า  ความดี)

Ø หน้าที่ของลูกโดยย่อ  หน้าที่ของลูกเมื่อกล่าวโดยย่อ  มีอยู่ ๗ ข้อ คือ
(๑)  พ่อแม่ได้เลี้ยงเรามาแล้วก็เลี้ยงท่านตอบ
(๒) ช่วยทำกิจการงานของพ่อแม่
(๓) ดำรงวงศ์ตระกูลของพ่อแม่
(๔) ประพฤติตนให้เป็นคนสมควรรับทรัพย์มรดกของพ่อแม่
(๕) เมื่อพ่อแม่ล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้ท่าน
(๖)  มั่นอยูในกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่
          (๗) เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่  ในทางที่ถูกต้องโดยเคร่งครัด

Ø กัน                                        อยู่ที่                                 แม่
แก้                                         อยู่ที่                                 พ่อ
ก่อ                                         อยู่ที่                                ลูก
ปลูก                                       อยู่ที่                                ครู
ความรู้                                   อยู่ที่                                ศิษย์   เป็นมิตรกันฯ
Ø รักวัว                                      ต้อง                                ผูก
รักลูก                                      ต้อง                                ตี                        
รักมี                                        ต้อง                                ค้า
รักหน้า                                   ต้อง                                คิด
รักมิตร                                   ต้อง                                เตือนกันฯ

ปุพ.พาจริยาติ  จุจ.จเร
บิดามารดา
เป็นบุรพาจารย์ของบุตร

 


             ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อคิดดีๆ หรือหลักธรรมเล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านทุกๆท่าน ไม่มากก็น้อย

ศีล5


พื้นฐานของความเป็น "มนุษย์"
ศีล5 หรือมนุษยธรรม "ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์"

ศีล 5 คืออะไร


ศีล 5 หมายถึง "ปกติของความเป็นมนุษย์" 
  การตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต และสิ่งที่ไม่ดีทุกประการ

ศีล คืออะไร?
ศีล คือ เจตนา หรือความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจาก กายทุจริต 3 และวจีทุจริต 4 ดังนี้

1.กายทุจริต 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

2.วจีทุจริต 4   คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ



ศีล5ประกอบไปด้วย

1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ  หมายถึง การจากเว้นจากทำลายชีวิต


ศีล 5 ข้อที่ 1


2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ หมายถึง การเว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
 ศีล 5 ข้อที่ 1

3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ หมายถึง การเว้นจากประพฤติผิดในกาม

 ศีล 5 ข้อที่ 3

4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ หมายถึง เว้นจากการพูดเท็จ ส่อเสียบคำหยาบเพ้อเจ้อ

ศีล 5 ข้อที่ 4


5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ หมายถึง การเว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีล 5 ข้อที่ 5


ศีล5ดีอย่างไร?

     การรักษาศีล5 มีประโยชน์กับเรา ดังต่อไปนี้ คือ

    1. ช่วยป้องกันชีวิตของเราให้ปลอดภัย ไม่ให้ต้องพบกับความเจ็บไขได้ป่วย และความเดือดร้อน ความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

     2. 
ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย

     3. ทำให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัว และสังคม

     4. 
พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ

     5. 
เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หรือมีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด 

ประกันชีวิตด้วยศีล 5


อาราธนาศีล 5 

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติถายะ 

ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ 

ทุติยันปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตยาถะ 

ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
 
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติยาถะ

ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")

    ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ
คำสมาทาน ว่า 

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)

อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)

กาเมสุมิจฺฉานารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ )

เอกสารอ้างอิง 
http://www.dmc.tv/pages/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A55.html

https://th-th.facebook.com/dhamma.net/posts/243438829117415